เกณฑ์การประเมินคุณภาพศูนย์ตรวจการนอนหลับ

โดย

สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย

ในปัจจุบันศาสตร์และความรู้ด้านวิชาโรคจากการหลับ (Sleep medicine) ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านองค์ความรู้ การบริการและงานวิจัย ในปัจจุบันทางสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยได้มีการเปิดอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจากการหลับและจัดสอบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการหลับ (certified sleep physician) พร้อมทั้งเปิดอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับ และสอบใบประกาศนียบัตรเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจการนอนหลับ (certified sleep technician) มาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันเพื่อเพิ่มศักยภาพของการตรวจการนอนหลับให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล นอกจากนี้ทางสมาคมฯยังมีโครงการเปิดหลักสูตรบอร์ดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการหลับ (sleep medicine board) ในระยะเวลาอันใกล้

โดยส่วนที่สำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาดังกล่าวนอกจากความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาวิชาฯแล้ว ความพร้อมในด้านการตรวจการนอนหลับก็มีส่วนสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม จากสภาพการณ์ปัจจุบันพบว่า ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างในการตรวจการนอนหลับ สถานที่ตรวจการนอนหลับหลายที่ยังไม่มีความพร้อม จึงเป็นที่มาของโครงการการประเมินคุณภาพศูนย์ตรวจการนอนหลับ โดยสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตามการประเมินนี้ไม่ครอบคลุมถึงการประเมิน HSAT (Home Sleep Apnea Testing)

 

การดำเนินงานและเกณฑ์การตัดสิน

สมาคมโรคจากการหลับฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะดำเนินงานเพื่อประเมินคุณภาพศูนย์ตรวจการนอนหลับ โดยประกอบไปด้วย

  1. นายกสมาคมโรคจากการหลับฯ
  2. ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการสมาคมโรคจากการหลับฯ
  3. ประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพศูนย์ตรวจการนอนหลับ
  4. คณะกรรมการประเมินคุณภาพศูนย์ตรวจการนอนหลับ (2-4 คน) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาคมฯ

โดยมีเกณฑ์และคำจำกัดความของการพิจารณาดังนี้

  1. ระยะเวลาดำเนินงาน ทุกปีในช่วง มิถุนายนถึงกันยายน (ในกรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในครั้งแรก) และมีการประเมินซ้ำทุก 4 ปี (ในกรณีที่ได้รับการรับรองแล้ว)
  2. Compliance คือ ศูนย์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ
  3. Denial คือ ศูนย์ที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ โดยมีเกณฑ์ดังนี้
    1. เกณฑ์ที่จำเป็นต้องมี (mandatory) ครบตามกำหนด
    2. ขาดเกณฑ์ที่จำเป็นต้องมีแต่ไม่บังคับ (non-mandatory) ครบตามกำหนด ขาดได้ไม่เกิน 10 ข้อ (ยกเว้นในหัวข้อ personnel)
  4. Mandatory คือ เกณฑ์ที่ศูนย์ตรวจการนอนหลับที่ผ่านการรับรองคุณภาพจำเป็นต้องมีให้ครบ ไม่สามารถยกเว้นได้
  5. หลังจากการดำเนินการตรวจรับรองคุณภาพฯ ภายในระยะเวลาประมาณ 4 สัปดาห์ ทางสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย จะออกใบรับรองคุณภาพ (Certificate of Accreditation) หรือใบสรุปคำแนะนำในการปรับปรุงเพื่อใช้ในการรับประเมินคุณภาพในปีถัดไป (ในกรณีที่ไม่ผ่านการรับรองฯ) เพื่อเป็นหลักฐานให้แต่ละสถาบัน

criteria ประกันคุณภาพ

Spread the love