ในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา  ได้มีการรวมตัวของกลุ่มแพทย์และบุคคลกรทางการแพทย์ที่มีความสนใจในเรื่องความผิดปกติขณะหลับ  โดยเริ่มต้นจากพบปะพูดคุย  และเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการหลับ  ในเวลาต่อมา  กลุ่มบุคลลดังกล่าวได้เห็นพ้องกันว่า  ควรมีการก่อตั้งสมาคมวิชาชีพ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้การสนับสนุน เกี่ยวกับการศึกษา   ฝึกอบรม  รวมทั้งการทำงานวิจัยเกี่ยวกับความผิดปกติจากการหลับ สมาคมวิชาชีพดังกล่าวจึงได้ก่อตั้งขึ้นและจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่  9  พฤศจิกายน 2552  โดยมีชื่อภาษาไทยว่า สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย  และชื่อภาษาอังกฤษว่า Sleep Society of Thailand   โดยนายกสมาคมฯคนแรก คือ าสตราจารย์นายแพทย์ประพาฬ ยงใจยุทธ 

ตราหรือเครื่องหมายของสมาคมเป็นรูปดวงตาที่ปิดสนิทขณะหลับ  และสีของเครื่อหมายเป็นสีของธงชาติไทย  โดยมีความหมายว่า  ขณะหลับเกิดความผิดปกติขึ้นได้  แต่ถึงอย่างไรก็มีทางออก  และสำหรับสีของเครื่องหมายเป็นสีของธงชาติไทย  บ่งบอกถึงสมาคมฯ เป็นตัวแทนของประเทศไทย

ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา  สมาคมฯได้จัดกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่ การประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 1  “How Should We Approach to Sleep Disorders” วันที่  21-22  เมษายน 2552  ณ.โรงพยาบาลโรคปอดกรุงเทพฯ  การประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 2  วันที่  4-5 ตุลาคม 2553 “ Sleep Medicine from A......to......Z”  ณ.โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ  การอบรมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับไปทั้งสิ้น 4 ครั้ง

สมาคมฯ ยังได้จัดสอบเพื่อให้ใบประกาศนียบัตรแก่แพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญโรคจากการหลับป็นรุ่นแรกจำนวน 13 ท่านในเดือนกันยายน 2553  โดยการสอบครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่างสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยและ American Academy of Sleep Medicine  โดยแพทย์ที่สอบผ่าน (ตรวจสอบรายชื่อ)  จะได้รับใบประกาศฯ  เพื่อยืนยันถึงมาตรฐานทัดเทียมระดับสากล

นอกจากการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการนอนหลับในหมู่แพทย์แล้วนั้น  ทางสมาคมฯ  ได้รับทราบถึงปัญหาจำนวนห้องตรวจการนอนหลับที่ขาดแคลนอย่างรุนแรงในประเทศไทย   ส่งผลให้ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้  หรือในบางสถาบัน  มีระยะเวลาในการรอตรวจยาวนานถึง 1 ปี  สมาคมฯ เล็งเห็นถึงสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าว  คือ  การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการตรวจ  รวมถึงการแปลผลการตรวจ   เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่ต้องได้รับการฝึกอบรมเฉพาะ  และต้องผ่านการฝึกปฏิบัติที่ยาวนาน  กว่าจะได้เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับที่มีคุณภาพ   ดังนั้นเพื่อผลิตเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศไทย  และได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล   สมาคมฯ  ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลากหลายครั้ง  และจัดการสอบเพื่อขอรับใบประกาศนียบัตรความรู้ความชำนาญเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับแห่งประเทศไทยขึ้น  โดยมีผู้สอบผ่านได้รับใบประกาศนียบัตรให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับระดับชำนาญการเป็นรุ่นแรกจำนวน 7 ท่าน (ตรวจสอบรายชื่อ) ในเดือนกันยายน 2553  และระดับพื้นฐานจำนวน 14 ท่าน (ตรวจสอบรายชื่อ) ในเดือนมีนาคม 2554

การพัฒนาเวชศาสตร์การนอนหลับในประเทศไทย (Evolution of Sleep Medicine in Thailand)

Spread the love